วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 1




การบันทึกครั้งที่ 1
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2559 
     <<<<<เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ



  • เมื่อเข้ามาในห้องเรียน วันนี้เป็นวันแรกของการเรียน อาจารย์ปฐมนิเทศและบอกข้อตกลงในห้องเรียน
  • แจกชีทเนื้อเพลง
  • แจกใบปั้๊ม การมาเรียน
  • อาจารย์สอนร้องเพลงแต่ละเพลง แล้วร้องตาม ช่วยกันร้องเพลง ไปดูกันว่าแต่ละเพลงเป็นอย่างไร ว่าแล้วก็ไปฝึกร้องกันดีกว่าโน๊ะ



  • ก่อนที่จะเริ่มเรียนทฤษฎีต่างๆ อาจารย์ให้นักศึกษาลองวาดรูปผ่านเส้นให้ครบทุกจุดโดยไม่ให้ยกปากกาขึ้น โดยมี จุดอยู่ 9 จุด มาดูกันเล้ยยยยยย

<<<<Wowwwww เพื่อนทำได้ ปรบมือค่าาาา >>>
แต่เรายังทำไม่ได้เลยอะ ^^

  • การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • จิตวิทยาและนักการศึกษาได้ให้ความหมายเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้ 
      Guilford  ได้ศึกษาเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งกล่าวไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วยลักษณะ ดังต่อไปนี้
          1. ความคล่องแคล่วในการคิด คือ ความสามารถของบุคคลในการหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และมีคำตอบในปริมาณที่มากในเวลาจำกัด
          2. ความคิดยืดหยุ่นในการคิด คือ ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้หลายประเภทและหลายทิศทาง
          3. ความคิดริเริ่ม คือ ความสามารถของบุคคลในการคิดหาสิ่งแปลกใหม่และเป็นคำตอบที่ไม่ซ้ำกับผู้อื่น
          4. ความคิดละเอียดลออ คือ ความสามารถในการกำหนดรายละเอียดของความคิดเพื่อบ่งบอกถึงวิธีสร้างและการนำไปใช้
     หลักความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด มุ่งไปที่ความสามารถของบุคคลที่จะคิดได้ รวดเร็วกว้างขวาง และมีความคิดริเริ่ม ถ้ามีส่งเร้ามากระตุ้นให้เกิดความคิดนั้นๆ สิ่งเร้าที่จะมากระตุ้นให้เกิดความคิด มีอยู่ 4 ชนิด

           1. รูปภาพ
           2. สัญลักษณ์
           3. ภาษา
           4. พฤติกรรม

       กิลฟอร์ด กล่าวโดยสรุปว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถด้านสมองที่จะคิดได้หลายแนวทางหรือคิดได้หลายคำตอบ เรียกว่า การคิดแบบอเนกนัย
        Torrance กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถของบุคคลในการคิดสร้างสรรค์ผลิตผล หรือสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ไม่รู้จักมาก่อน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจจะเกิดจากการรวมความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากประสบการณ์แล้วเชื่อมโยงกับสถานการณ์ใหม่ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นแต่ไม่จำเป็นสิ่งสมบูรณ์อย่างแท้จริง ซึ่งอาจออกมาในรูปของผลผลิตทางศิลปะ วรรณคดี วิทยาศาสตร์
       
          สรุปได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ คือ ความสามารถทางสมองของบุคคลที่จะคิดได้หลายทิศหลายทาง หรือคิดได้หลายคำตอบ และความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆโดยมีสิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความคิดใหม่ต่อเนื่องกันไป และความคิดสร้างสรรค์นี้อาจเป็นความคิดใหม่ผสมผสานกัประสบการณ์ก็ได้


  • งค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ซึ่งเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้อย่างซับซ้อน กว้างไกล หลายทิศทาง หรือที่เรียกว่า คิดอเนกนัย ซึ่งประกอบด้วย ความคิดริเริ่ม (Originality) ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) ความคิดละเอียดลออ(Elaboration)
         Guilford  ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
          1. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่ ความคิดริเริ่มมีหลายระดับซึ่งอาจเป็นความคิดครั้งแรกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครสอนแม้ความคิดนั้นจะมีผู้อื่นคิดไว้ก่อนแล้วก็ตาม
          2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
              2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
              2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
              2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expression Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
              2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด เช่น ใช้คิดหาประโยชน์ของก้อนอิฐให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดซึ่งอาจเป็น 5 นาที หรือ 10 นที
          3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
               3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน เช่น เพื่อรู้ข่าวสาร เพื่อโฆษณาสินค้า เพื่อธุรกิจ ฯลฯ ในขณะที่คนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะคิดได้เพียงทิศทางเดียว คือ เพื่อรู้ข่าวสาร เท่านั้น
              3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ้ำกัน
          4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น

       



  •        พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
Torrance ได้แบ่งออกเป็น ระยะ
  1.          ระยะแรกเกิด – 2 ขวบ
  2.          ระยะ 2 -4 ขวบ
  3.          ระยะ 4-6 ขวบ
  4.          แรกเกิด-2ปี มีจินตนาการ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว 
  5.          2-4 ปี ตื่นตัวกับสิ่งใหม่ ใช้จินตนาการกับการเล่น ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ช่วงความสนใจสั้น
  6.         4-6 ปี สนุกกับการวางแผน การเล่น การทำงาน ชอบเล่นสมมติเชื่อมโยงสิ่งต่างๆได้ แต่จะเข้าใจเหตุและผลได้ไม่ดีนัก
  •        ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
Torrance ได้แบ่งเป็น ขั้น
ขั้นที่ แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด ไม่คำนึงถึงคุณภาพ
ขั้นที่ งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง
ขั้นที่ ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ซ้ำใคร
ขั้นที่ ปรับปรุงขั้นที่ 3
ขั้นที่ คิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงสุด คิดหลักการใหม่ๆ

  •        ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
  1.        ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
  2.        อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล
  3.        ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาได้ดี
  4.        ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ
  5.        ช่วยให้ปรับตัวได้ดี

  •        แนวคิดและทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญาของ Guilford
• อธิบายความสามารถของสมองมนุษย์เป็นแบบจำลอง มิติ
มิติที่ เนื้อหา 
(ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด)
• ภาพ
• สัญลักษณ์
• ภาษา
• พฤติกรรม
มิติที่ 2 วิธีคิด
(กระบวนการทำงานของสมอง)
• การรู้และเข้าใจ
• การจำ
• การคิดแบบอเนกนัย
• การคิดแบบเอกนัย
• การประเมินค่า
มิติที่ 3 ผลของการคิด
(การตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้า)
• หน่วย
• จำพวก
• ความสัมพันธ์
• ระบบ
• การแปลงรูป
• การประยุกต์


  •          ทฤษฎี Constructivism
  1.         เด็กเรียนรู้เอง
  2.         เด็กคิดเอง
  3.         ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน
  4.         สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
  •         ทฤษฎีของ Torrance
                 ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกต่อปัญหา แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ
• ขั้นที่ การพบความจริง
• ขั้นที่ การค้นพบปัญหา
• ขั้นที่ การตั้งสมมติฐาน
• ขั้นที่ การค้นพบคำตอบ
• ขั้นที่ ยอมรับผล
  •          บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
• เด็กรู้สึกปลอดภัย
• ให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว
• ได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
• ขจัดอุปสรรค
• ไม่มีการแข่งขัน
• ให้ความสนใจเด็ก
  •         ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
  1.         มีไหวพริบ
  2.         กล้าแสดงออก
  3.         อยากรู้อยากเห็น
  4.         ช่างสังเกต
  5.         มีอารมณ์ขัน
  6.         มีสมาธิ
  7.         รักอิสระ
  8.         มั่นใจในตนเอง
  9.         อารมณ์อ่อนไหวง่าย
  10.         ไม่ชอบการบังคับ
  11.         ชอบเหม่อลอย
  12.         ซาบซึ้งกับสุนทรียภาพ
  13.         มีความวิจิตรพิสดาร
  14.         ชอบสร้างแล้วรื้อ รื้อแล้วสร้างใหม่
  15.         ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
  •         กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
• Torrance ได้กล่าวถึงลักษณะของกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไว้ ลักษณะ
• ลักษณะที่ 1 ความไม่สมบูรณ์ การเปิดกว้าง  (Incompleteness, Openness)
• ลักษณะที่ 2 การสร้างบางอย่างขึ้นมา และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ (Producing Something and Using It)
• ลักษณะที่ การใช้คำถามของเด็ก (Using Pupil Question)

  •         แนวทางการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance
  1.         ส่งเสริมให้เด็กถาม
  2.         เอาใจใส่ความคิดของเด็ก
  3.         ยอมรับคำถามของเด็ก
  4.         ชี้แนะให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
  5.         แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
  6.         เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อยู่เสมอ
  7.         ค่อยเป็นค่อยไป
  8.         ยกย่องชมเชย
  9.         ไม่มีการวัดผล

  • หลังจากที่เรียนทฤษฎีเสร็จแล้ว อาจารย์ให้นักศึกษาพับจรวดจากกระดาษ คนละ 1 อัน โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ 

  • จากนั้นอาจารย์ก็ให้เอาจรวดออกมาขว้างไปยังจุดหมายที่วางไว้ นั่นก็คือกล่องใส่สี
  • กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้คือ อาจารย์ให้จับคู่เพื่อน 1 คน แล้วให้ออกไปเอากระดาษและสีเทียนมาคนละ 1 สี จากนั้นอาจารย์ก็เปิดเพลงแล้วให้ฟังพร้อมทั้งหยิบสีเทียนขึ้นมาแล้วก็วาดยังไงก็ได้ห้ามยกมือ โดยวาดไปตามเสียงเพลงและจินตนาการของแต่ละคน 




  • จากนั้นอาจารย์ก็ให้ดูว่ามีรูปอะไรบ้าง แล้วก็ให้วาดเส้นทับให้เข้มๆ 
  • ดูสิค้าาาา กลุ่มของพวกเรา งามขนาดไหน ดูด้วยค่ะ ทีมเวิร์คค้ะกับ แพรว แพรว แพรว


มองไม่ค่อยเห็นนะคะ ถ้า focus ที่รูป คนจะดำค่ะ ^^
  • มาดูการพรีเซ้นของเพื่อนๆกันนะคะ





  • Wowwww สวยทุกกลุ่มเลยค้าาาา ไปดูผลงานเพื่อนๆกันดีกว่าโน๊ะ
  • นี่คือเบื้องหลังของสื่อมวลชน
การประเมินผล


ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาสอน


ประเมินเพื่อน :เพื่อนๆทุกคนน่ารักค่ะ เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียนและสนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาสอน


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักค่ะ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น