วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2

การบันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559
            <<<<<เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ

ก่อนที่จะเริ่มการเรียนการสอนอาจารย์ให้ดูคลิปวิดีโอ 
สาธิตความปลอดภัยบนรถเมล์   

  • ก่อนจะเริ่มการเรียนอาจารย์ให้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มกลุ่มละ 5 คนกิจกรรมที่ทำนี้จะได้ทั้งความคิดสร้างสรรค์ ความสามัคคีและการวางแผนการทำงานร่วมกันภายในกลุ่ม 
  • มาดูโฉมหน้าทีมเวิร์คกันค้าาาาา


อุปกรณ์มีดังนี้ กระดาษ,ดินน้ำมัน,ไม้จิ้มฟัน

การทำกิจกรรมนี้มีกติกาอยู่ว่า ให้ออกแบบอย่างไรก็ได้ให้มีความสูงที่สุดโดยใช้แค่อุปกรณ์ทั้ง3อย่างเท่านั้น
  • รอบแรกนั้นอาจารย์ไม่ให้ทุกคนภายในกลุมพูดคุยหรือปรึกษากัน ทำได้แค่ใช้สายตาหากันเท่านั้น
  • รอบที่สอง ให้ตั้งผู้นำกลุ่ม1คนแล้วให้คนเป็นผู้นำออกคำสั่งได้คนเดียวเท่านั้น
  • รอบที่สาม ให้ทุกคนภายในกลุ่มช่วยกันระดมความคิด
ในรอบแรกกลุ่มของดิฉันได้
ความสูงอยู่ที่ 23 เซนติเมตร
รอบที่สอง 53 เซนติเมตร
รอบที่สาม 39 เซนติเมตร



การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

การเล่
• กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
• ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
• ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม 

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
Piaget กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี ขั้น ดังนี้
1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส 
(Sensorimotor Play)
  1.           สำรวจ จับต้องวัตถุ
  2.           ยุติลงเมื่อเด็ก ขวบ
2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
  1.          อายุ 1 ½ - 2 ปี
  2.          การเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
  3.          เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)
  1.          2 ขวบขึ้นไป
  2.          สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ
  3.          เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆที่ไม่มีอยู่ที่นั่น
  4.          ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด คือ การเล่นบทบาทสมมติ
ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  1.          การเล่นกลางแจ้ง
  2.          การเล่นในร่ม
การเล่นในร่ม
  1.          การเล่นตามมุมประสบการณ์
  2.          การเล่นสรรค์สร้าง
การเล่นสรรค์สร้าง
  1.          การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
  2.          ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
  3.          เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง

องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง 
(Formann and Hill, 1980)
1. สภาวะการเรียนรู้
• เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
• การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
• การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
• การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
• การเรียนรู้เหตุและผล
  •          การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน





             


 


  • การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว


2.    2. พัฒนาการของการรู้คิด
  •         ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
• กระบวนการเรียนรู้
• กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้

กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
• เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
• การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
• การจำแนกอย่างมีเหตุผล

หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
• ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
• ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
• มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม

• มีการสรุปท้ายกิจกรรม


  •          กิจกรรมที่สอง กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ กิจกรรมนี้ให้แต่ละกลุ่มสร้างเรือมา1ลำเรือนี้จะเป็นรูปแบบใดก็ได้ โดยมีอุปกรณ์คือ กระดาษ,หลอด,หนังยาง โดยเรือนี้สามารถบรรทุกซองซอสให้ได้เยอะที่สุด



      เรามาเริ่มนับซองที่เรือน้อยบรรทุกได้กันดีกว่าาาาาาา

  •        กลุ่มแรกบรรทุกได้ 19 ซอง
  •        กลุ่มที่สองบรรทุกได้ 45 ซอง
  •        กลุ่มที่สามบรรทุกได้ 52 ซอง
  •        กลุ่มที่สี่บรรทุกได้ 22 ซอง
  •        กลุ่มที่ห้าบรรทุกได้ 12 ซอง
  •        กลุ่มที่หกบรรทุกได้ 17 ซอง
  •           กิจกรรมที่ทำนี้จะได้ทั้งความคิดสร้างสรรค์ ความสามัคคีและการวางแผนการทำงานร่วมกัน   ภายในกลุ่ม เย้ๆๆๆๆ
  •            และกิจกรรมสุดท้ายของวันนี้ กิจกรรมดีไซเนอร์ระดับโลก โดยอาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม      ออกแบบชุดจากกระดาษหนังสือพิมพ์ โดยต้องทำชุดให้ครบที่อาจารย์กำหนดหัวข้อมาให้

  •         เรามาดูของแต่ละกลุ่มกันค่ะ สวยๆเริ่ศๆๆๆๆกันทุกกลุ่มเลย











เรามีวิดีโอมาให้ชมด้วยนะคะ

  •         กิจกรรมนี้ได้ทั้งความคิดสร้างสรรค์ ให้รู้จักการวางแผน การทำเวลา การประดิษฐ์ที่ต้องรวดเร็ว และออกมาสวยงาม โดยเฉพาะความสนุสนานและรอยยิ้มรับรองเลยว่าทุกคนในวันนี้ ได้รับกันทุกคนค่ะ 



ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากเรื่องของ องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ไปจัดกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์ในอนาคตได้
การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรม มีความคิดสร้างค์ช่วยให้ห้องเรียนน่าเรียนยิ่งขึ้น

ประเมินเพื่อน :เพื่อนๆทุกคนน่ารักค่ะ เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน และเพื่อนทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างกันรวมไปถึงมีการวางแผนที่ดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักค่ะ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น แถมยังมีกิจกรรมมาให้ทำมากมาย ทำให้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้มากขึ้น

            













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น