วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 10




การบันทึกครั้งที่ 10
วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2559
    <<<<<เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ

  • เมื่อเข้ามาในห้องเรียน อาจารย์ถามนักศึกษาว่า "ทำไมจึงต้องจัดกิจกรรมบรูณาการ"
 

  • เป้าหมาย    เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน
    • กิจกรรมบรูณาการ 
    • ออกแบบกิจกรรมให้แตกต่าง เพราะสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก

    1. ลักษณะพัฒนาการเด็กเชื่อมโยงทั้ง 4 ด้าน
    2. เมื่อจัดประสบการณ์ จัดให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
    (ครูควรจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายทั้งวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการต่างๆ เพื่อสามารถให้เด็กมีโอกาสได้ริเริ่มและนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์)
    • กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนคิดสิ่งประดิษฐ์อะไรก็ได้ที่สามารถนำไปใช้สอนผู้ปกครอง โดยอาจารย์มีวัสดุให้คือ
    1. ขวดน้ำ
    2. กระป๋อง
    3. กล่องกระดาษ
    แล้วนำเสนออาจารย์ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน  ของดิฉันประดิษฐ์  คือ เครื่องคิดเงิน Cashier


    ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
    สามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปจัดกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์ใในอนาคตได้ โดยการนำสิ่งของวัสดุเหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็น ขวดน้ำ กระป๋อง ถุงขนม กล่องนม กล่องกระดาษ หรืออะไรอื่นๆที่สามารถนำมาประดิษฐ์ได้ การประดิษฐ์ไม่ใช่ว่าจะทำขึ้นมาเฉยๆแต่ต้องใช้ได้จริงและเกิดประโยชน์ด้วยค่ะ เพื่อส่งเสริมการคิดคิดที่แตกต่างความสร้างสรรค์ตามจินตนาการของแต่ละคน ฝึกการทำงานประดิษฐ์สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็กอีกด้วย



    การประเมินผล

    ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรม ช่วยเพื่อนเวลาทำงานกลุ่มอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ

    ประเมินเพื่อน :เพื่อนๆทุกคนน่ารักค่ะ เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน และเพื่อนทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างกันรวมไปถึงมีการวางแผนที่ดี

    ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักค่ะ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น แถมยังมีกิจกรรมมาให้ทำมากมาย ทำให้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้มากขึ้น สนุกสนานมากขึ้นเลยค่ะ

                

    วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

    การบันทึกครั้งที่ 9 (วันปิยมหาราช)





    การบันทึกครั้งที่ 9
    วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2559

    ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดชดเชย วันปิยมหาราช
    วันปิยมหาราช เปิดพระราชกรณียกิจในความทรงจำ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่5 แห่งราชวงศ์จักรี
    วันนี้(23 ตุลาคม) เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่ของพสกนิกรชาวไทย และชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยมหาราช หรือพระพุทธเจ้าหลวง ซึ่งมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันปิยมหาราช

    เนื่องจากวันนี้ (23 ต.ค.) เป็นวันปิยมหาราช ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งวันที่สำคัญของคนไทย ทีมข่าว MThai จึงได้รวบรวมพระราชกรณียกิจในความทรงจำที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  มาไว้ให้ได้ระลึกถึงกัน ดังนี้
    พระราชกรณียกิจอันสำคัญ ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า สมเด็จพระปิยมหาราช ก็คือ การเลิกทาส สมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น ประเทศไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมือง ของประเทศ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ
    นอกจากนี้ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ บุคคลศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติการในศาสนาได้อย่างอิสระ รวมทั้งได้มีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ ระบบการใช้ธนบัตร และเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัด และอำเภอ

    ด้านการสร้างถนน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตัดถนนราชดำเนิน และถนนเยาวราช ส่วนถนนสายอื่นๆ ที่โปรดให้สร้างและบูรณะเพื่อความสะดวกในการสัญจรของราษฎร ได้แก่ ถนนบำรุงเมือง ถนนเจริญกรุง ถนนวังบูรพา ถนนอุณากรรณ ถนนดินสอ ถนนจักรพงษ์ ถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ ถนนจักรเพชร ถนนมหาชัย ถนนสี่พระยา เป็นต้น
    ด้านการสร้างสะพาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานเชื่อมถนนข้ามคลอง เช่น สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สะพานมัฆวานรังสรรค์ ฯลฯ และยังได้จัดสร้างสะพาน ขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นประจำทุกปีในวันเฉลิมพระชนมพรรษาจนถึงปีสวรรคต รวม ๑๗ สะพาน
    โดยพระราชทานนามสะพานขึ้นด้วยคำว่า “เฉลิม” และ ตัวเลขต่อท้ายระบุพระชนมพรรษา เช่น สะพานเฉลิมศรี ๔๒ สร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๘ ขณะเจริญพระชนมพรรษา ๔๒ พรรษา นับเป็นสะพานแรก และสะพานสุดท้ายคือ สะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘
    ด้านการไปรษณีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๖ มีการส่งจดหมายพัสดุสิ่งของเป็นครั้งแรก เฉพาะภายในกรุงเทพฯ แล้วขยายออกบริเวณตามหัวเมือง เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๒๘
    ด้านการเสด็จประพาส  
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชื่นชอบการเสด็จประพาสเป็นยิ่งนัก พระองค์เสด็จประพาสทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ บางครั้งทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนบ้าง ปลอมเป็นขุนนางบ้าง เพื่อเสด็จพระราชดำเนินดูแลทุกข์สุขของประชาชนในหัวเมืองต่างๆ มากมาย การเสด็จประพาสบ่อยครั้ง ทำให้ทอดพระเนตรเห็นสิ่งต่างๆ ทั้งที่ดี และไม่ดี สิ่งเหล่านี้พระองค์ได้นำไปพัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น
    เราตั้งใจอธิษฐานว่า เราจะกระทำการจนเต็มกำลังอย่างที่สุด ที่จะให้กรุงสยามเป็นประเทศอันหนึ่ง ซึ่งมีอิสรภาพ และความเจริญ  กระแสพระราชดำรัสที่บ่งบอกถึงพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาลที่5
    ขณะนั้นประเทศแถบอินโดจีนได้ถูกรุกรานจากประเทศมหาอำนาจทางตะวันตก เนื่องจากประเทศในแถบอินโดจีนเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนา ทำให้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจได้โดยง่าย รวมถึงประเทศไทยก็เผชิญเช่นกัน ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมแกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จประพาสยุโรป เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเหล่านั้น อีกทั้งต้องการศึกษาวิทยาการต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงประเทศ และจากการเสด็จประพาสยุโรปของพระองค์ในครั้งนี้ก็ได้นำความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการมาสู่บ้านเมืองของเรา

    การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ.๒๔๔๐ ได้ส่งผลดีในการเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งรัสเซีย
    ซึ่งการเสด็จฯ เยือนรัสเซียครั้งนั้นนับว่าเป็นจุดสำคัญที่สุดของการเสด็จประพาสยุโรปทั้งหมด ข่าวการรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่รัสเซียในครั้งนั้น ทำให้ราชสำนักต่าง ๆ ในยุโรปตระหนักถึงความสำคัญของประเทศไทย ทำให้เกิดความเกรงใจอยู่ไม่น้อย
    ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับมหาอำนาจตะวันตกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สะท้อนให้เห็นนโยบายของไทยที่ยอมโอนอ่อนผ่อนตาม และยอมเสียดินแดนส่วนน้อย เพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ไว้
    ทั้งนี้ เพราะไทยเป็นประเทศเล็กที่มีกำลังน้อย ท่ามกลางประเทศเพื่อนบ้านที่ถูกยึดครองไปจนหมด ไทยจึงไม่อาจต่อรองด้วยกำลังกับชาติมหาอำนาจ แต่จะต้องพยายามแก้ปัญหาโดยใช้ “กลยุทธ์ทางการทูต” ในการรักษาเอกราชของชาติไว้ เห็นได้ชัดจากความสัมพันธ์ที่เกิดจากมิตรไมตรีขององค์ประมุขของไทยและ รัสเซีย ได้ช่วยให้ไทยสามารถดำเนินนโยบายถ่วงดุลอำนาจกับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อรักษาอธิปไตยของไทยไว้ตามแนวสันติวิธี

    วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

    หน่วยไข่

    • กิจกรรมที่ 1  สารอาหารจากไข่

    STEM & STEAM
    Science (วิทยาศาสตร์)

    แนวคิด
    เรียนรู้ประโยชน์จากไข่ให้สารอาหารแก่ร่างกายคือ โปรตีน ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอของร่างกาย

    วิธีการเรียนรู้
    1. นำไข่สดมาให้เด็กสังเกต รูปร่าง ลักษณะ สี แล้วนำมาตอกใส่ถ้วย
    2. นำไข่ไปต้ม แล้วปอกเปลือกใส่ถ้วยไว้
    3. นำไข่ที่ต้มมาให้เด็กรับประทาน แล้วบอกประโยชน์ของไข่ให้เด็กฟังว่ามีสารอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอของร่างกาย 
    • กิจกรรมที่ 2 แปลงโฉมเป็นไข่เค็ม

    STEM & STEAM
    Technology (เทคโนโลยี)
    Science (วิทยาศาสตร์)

    แนวคิด
    ไข่ให้สารอาหารประเภทโปรตีน นำมาพัฒนาเป็นไข่เค็มทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้นและเป็นการสร้างมูลค่าของไข่ให้มีคุณค่ามากขึ้น

    วิธีการเรียนรู้
    1. ล้างไข่เป็ดให้สะอาด สะเด็ดน้ำจนแห้งสนิท ใส่ลงในโหลแก้ว เตรียมไว้
    2. ทำน้ำเกลือสำหรับดองไข่ โดยใส่เกลือกับน้ำลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟจนเดือด และคนให้เกลือละลายจนหมด ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็นสนิท
    3. เทน้ำเกลือที่เย็นแล้วลงในโหลไข่จนท่วมไข่ จากนั้นใช้ถุงพลาสติกใส่น้ำวางทับลงไปให้ไข่เป็ดจมอยู่ใต้น้ำ ตลอดเวลา ปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 2-3 อาทิตย์ สำหรับทำไข่ดาว เก็บไว้นานประมาณ 2 อาทิตย์ สำหรับทำไข่ต้ม เก็บไว้นานประมาณ 3 อาทิตย์
    4. นำไข่เค็มที่กินได้เอา มาให้เด็กชิม



    • กิจกรรมที่ 3 โมบายหรรษา

    STEM & STEAM
    Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
    Science (วิทยาศาสตร์)
    Art  (ศิลปะ)

    แนวคิด
    การประดิษฐ์โมบาย เป็นการออกแบบชิ้นงาน อย่างสร้างสรรค์ด้วยการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ เกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรงโน้มถ่วง

    วิธีการเรียนรู้
    1. นำเปลือกไข่มาตกแต่งให้สวยงาม
    2. เตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ เชือก  ลวด  กระดาษสี กาว และอุปกรณ์ตกแต่ง
    3. นำมาร้อยเป็นเส้น จำนวน 3 เส้น ให้มีความสมดุลกัน 

    • กิจกรรมที่ 4 รูปร่างของฉันสวย

    STEM & STEAM
    Mathematic (คณิตศาสตร์)

    แนวคิด
    ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในด้านจำนวน รูปทรง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

    วิธีการเรียนรู้
    1. นำไข่มาให้เด็กสังเกตรูปร่าง  ลักษณะ  สี
    2. นำไข่หลายๆใบ ใส่ในตะกร้า แล้วนับเพิ่มทีละใบ นับลดทีละใบ จนครบ 



    • กิจกรรมที่ 5 ขยับกายกับไข่น้อย

    ใช้เพลง แม่ไก่ออกไข่
    STEM & STEAM
    Language  (ภาษา)
    Music  (ดนตรี)

    แนวคิด
    การร้องเพลงและทำท่าทางประกอบเพลงเคลื่อนไหวตามจังหวะ ทำให้เกิดความสนุกสนาน ร่างกายแข็งแรง

    วิธีการเรียนรู้
    1. ครูร้องเพลงให้เด็กฟัง
    2. ให้เด็กร้องตาม
    3. ครูทำท่าทางประกอบเพลง
    4. เด็กร้องเพลงตามและทำท่าทางประกอบเลียนแบบครู
    5. เด็กทำท่าทางตามจินตนาการของตนเองอย่างสร้างสรรค์ 

    • กิจกรรมที่ 6 ประดิษฐ์ตุ๊กตาล้มลุก

    STEM & STEAM
    Art  (ศิลปะ)
    Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
    Technology (เทคโนโลยี)

    แนวคิด
    การออกแบบชิ้นงานที่ทำจากเปลือกไข่ มีการวางแผนในการพัฒนาจากเปลือกไข่ให้มีความน่าสนใจ มีศิลปะสร้างสรรค์ตามจินตนาการที่เกิดขึ้น

    วิธีการเรียนรู้
    1. เตรียมอุปกรณ์ คือ กระดาษสี  กรรไกร  กาว  ไหมพรม และอุปกรณ์ตกแต่ง
    2. นำเปลือกไข่ที่ทำความสะอาดแล้วมาออกแบบประดิษฐ์ผลงาน
    3. ประดิษฐ์ตุ๊กตาล้มลุกตามจินตนาการ




    วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559

    การบันทึกครั้งที่ 8




    การบันทึกครั้งที่ 8
    วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2559
                  <<<<<เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ


    • ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ทบทวนความรู้ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ที่ได้เรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือ กิจกรรม 4 กิจกรรม ได้แก่

    1. กิจกรรมเป่าฟองสบู่ เป็นงานศิลปะที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือการใช้ซันไลด์ทำให้เกิดฟอง เมื่อนำไปเป่าลงบนกระดาษจะทำให้เกิดภาพสีต่างๆ ที่สวยงาม
    2. กิจกรรมจานกระดาษ เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กคิดออกแบบโดยไม่มีขอบเขต
    3. กิจกรรมพิมพ์มือภาพผีเสื้อ สามารถนำไปประยุกต์จัดประสบการณ์เด็กได้
    4. กิจกรรมประดิษฐ์แมลง เด็กได้ทักษะการสังเกตการขยับเชือก


    *** ครูมีบทบาทในการเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กได้เกิดความคิดสร้างสรรค์ด้วยตนเอง โดยมีเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่หลากหลาย ให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ มีความคิดริเริ่มด้วยตนเอง

    • ต่อมา อาจารย์แจกกระดาษA4 คนละ 1 แผ่น พร้อมทั้งให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน วาดรูปตัวเลขตั้งแต่เลข 0-9 โดยตกลงกันในกลุ่มของเราว่าใครจะวาดเลขไหน 
     

    ฉันเลือกที่จะวาดเลข 2

    • เมื่อวาดเสร็จแล้ว อาจารให้นำไปติดไว้หน้าห้อง โดยเรียงจากเลข 0-9
     

    • และกิจกรรมสุดท้าย อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกแบบกิจกรรมให้กับเด็กเกี่ยวกับตัวเลขของกลุ่มตนเอง โดยทำเป็นสื่อการสอนรูปแบบใดก็ได้ และเมื่อทำแล้วเด็กจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้กับสื่อการสอนนั้นๆ เมื่อปรึกษากันในกลุ่มเสร็จแล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน





    • จากนั้นเพื่อนๆนำเสนอหน้าชั้นเรียน
    กลุ่มที่ 1 สื่อการสอน ติดภาพตัวเลขและใช้ไม้ไอติมแทนจำนวนเป็นรูปเรขาคณิต


    กลุ่มที่ 2 สื่อการสอน ใช้ไม้ไอติมแทนค่าจำนวนในตารางตามภาพตัวเลข

    กลุ่มที่ 3 สื่อการสอน นิทานตัวเลข




    ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้

    สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้ โดยการให้เด็กออกแบบตัวเลขของตนเองตามจินตนาโดยไม่จำกัดขอบเขตในการทำ 


    การประเมินผล

    ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรม ช่วยเพื่อนเวลาทำงานกลุ่มอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ

    ประเมินเพื่อน :เพื่อนๆทุกคนน่ารักค่ะ เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน และเพื่อนทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างกันรวมไปถึงมีการวางแผนที่ดี

    ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักค่ะ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น แถมยังมีกิจกรรมมาให้ทำมากมาย ทำให้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้มากขึ้น สนุกสนานมากขึ้นเลยค่ะ

                







    วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

    การบันทึกครั้งที่ 7




    การบันทึกครั้งที่ 7
    วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2559
                                               

            ดิฉันไม่ได้ไปเรียนค่ะเนื่องจากไม่สบาย
    ปวดกล้ามเนื้อมากจนลุกไม่ไหวเหตุเกิดจากซ้อมเชียร์หลีดเดอร์ค่ะ




    วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

    การบันทึกครั้งที่ 6



    การบันทึกครั้งที่ 6
    วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2559
                  <<<<<เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ

    • ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนรู้แบบ STEM / STEAM


    กลุ่มที่ 1 หน่วยบ้าน ( กิจกรรมสร้างบ้าน )

    บ้านของเราเป็นบ้านตากอากาศ
    การบรูณา : ศิลปะ การออกแบบและคณิตศาสตร์


    อุปกรณ์ที่มีให้ 
    1. ลังกระดาษ
    2. สีเมจิก
    3. แกนทิชชู่
    4. หนังสือตกแต่งบ้าน
    5. กระดาษแข็งสีชมพู


    ร่วมด้วยช่วยกัน




     

    นี่กลุ่มของเพื่อนๆค่ะ

    นี่คือผลงานของกลุ่มเราค่ะ 


    ผลงานของเพื่อนๆทุกกลุ่มน่ารักจังเลยค่ะ 
    เป็นการใช้ความคิดและบริหารเวลาได้ดี


    กลุ่มที่ 2 หน่วยผลไม้ ( กิจกรรมมงกุฎผลไม้ )
    กลุ่มของเราทำเป็นผลไม้รวมเลยค่าาา
    การบรูณาการ : คณิตศาสตร์ ศิลปะ และการออกแบบ

    อุปกรณ์ที่มีให้
    1. กระดาษสีต่างๆ
    2. ปากกาเมจิก






    ว๊าวววว เสร็จแล้ว สวยจังเลยมงกุฎผลไม้
    นางแบบของเรา

    อยากเป็นนางแบบบ้างจัง
     
    ผลงานของทุกกลุ่มสวยงามมากเลย นางแบบก็น่ารักมาก



    กลุ่มที่ 3 หน่วยยานพาหนะ ( กิจกรรมหุ่นนิ้วยานพาหนะ )
    การบรูณาการ : คณิตศาสตร์และศิลปะ
    กลุ่มของดิฉันเลือกที่จะทำเรือเป็นยานพาหนะ

    **ร่วมด้วยช่วยกัน**






    ผลงานของกลุ่มเรา

    ว๊าวววนางแบบกับการประดิษฐ์ครั้งนี้จะสวยเป็นพิเศษ อิอิ


    กลุ่มที่ 4 หน่วยผลไม้ ( กิจกรรมโมเดลผลไม้ )

    กลุ่มของเราทำเป็น แอ็ปเปิ้ล





    ว๊าวววว แอ็ปเปิ้ลลูกใหญ่ สีแดงอมชมพู น่ากัดกินมากเลย


    เพื่อนๆทุกกลุ่ม ทำโมเดลผลไม้ได้สวยเหมือนจริงทุกกลุ่มเลยค่ะ


    กลุ่มที่ 5 หน่วยปลา ( กิจกรรมตกแต่งจานกระดาษ )
    กลุ่มของเราทำเป็นปลามังกร

    อุปกรณ์ที่มีให้
    1. จานกระดาษ
    2. สีเมจิก




    ช่างเป็นปลาที่น่าเกรงขามมากๆๆ

    ผลงานของทุกกลุ่ม ปลาหน้าตาประหลาดๆจังเลย อิอิ


    กลุ่มที่ 6 หน่วยไข่
    กิจกรรมประดิษฐ์ตุ๊กตาล้มลุก (กลุ่มดิฉัน)

    STEM & STEAM

    Art  (ศิลปะ)

    Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)

    Technology (เทคโนโลยี)

    แนวคิด

    การออกแบบชิ้นงานที่ทำจากเปลือกไข่ มีการวางแผนในการพัฒนาจากเปลือกไข่ให้มีความน่าสนใจ มีศิลปะสร้างสรรค์ตามจินตนาการที่เกิดขึ้น

    วิธีการเรียนรู้
    • เตรียมอุปกรณ์ คือ กระดาษสี  กรรไกร  กาว  ไหมพรม และอุปกรณ์ตกแต่ง
    • นำเปลือกไข่ที่ทำความสะอาดแล้วมาออกแบบประดิษฐ์ผลงาน
    • ประดิษฐ์ตุ๊กตาล้มลุกตามจินตนาการ


    พรีเซ้นงานอย่างมีความสุข
    เพื่อนๆแต่ละกลุ่มตั้งใจทำมากเลยค่ะ






    มาดูผลงานที่เพื่อนๆทำกันดีกว่าค่าาาา

    ผลงานเพื่อนๆเป็นอย่างไรกันบ้างคะ น่ารักใช่ไหมล้าาา

    ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้

    สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากเรื่องของ STEM / STEAM ไปจัดกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์ในอนาคตได้ โดยนำความคิดสร้างสรรค์ต่างๆไปปรับใช้ในหน่วยการเรียนรู้ต่างๆได้


    การประเมินผล

    ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรม ช่วยเพื่อนเวลาทำงานกลุ่มอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ

    ประเมินเพื่อน :เพื่อนๆทุกคนน่ารักค่ะ เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน และเพื่อนทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างกันรวมไปถึงมีการวางแผนที่ดี

    ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักค่ะ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น แถมยังมีกิจกรรมมาให้ทำมากมาย ทำให้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้มากขึ้น สนุกสนานมากขึ้นเลยค่ะ